ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถทำการวิจัยได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผลที่ได้มาจากเทคนิคนี้นอกจากสามารถเจาะลึกและดึงข้อเสนอแนะที่มีในใจของผู้ใช้บริการได้แล้ว เทคนิคนี้ยังสามารถใช้ได้ในการวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเชิงลึก (Insight) ในกระบวนการทำงาน ประสบการณ์ และความเห็นของคนในองค์กรได้อีกด้วย
ข้อมูลเชิงลึกในรายละเอียดของจุดปฏิสัมพันธ์ (Touchpint) จากมุมมองของตัวแทนผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมวิจัย ได้รับรู้ในจุดบริการแต่ละจุด ในรูปแบบเสียง ข้อความ ภาพ และวิดีโอ
วิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาเป็นวิธีที่ใช้ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตประจำวัน พฤติกรรม และทัศนคติของคนในสังคมวัฒนธรรมที่ศึกษาอยู่อย่างละเอียด โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) ซึ่งผู้วิจัยจะร่วมทำกิจกรรมและสังเกตการณ์ในเวลาเดียวกัน
รวมถึงพูดคุยสัมภาษณ์ผู้ที่มีความคิดเห็นหลักในกลุ่มคนนั้นๆ (Key Informant) ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้วิจัยจะใช้เวลานานในการแฝงตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในพื้นที่
ในวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟนมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ได้ข้อมูลดังกล่าว โดยผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น แต่สามารถชี้นำแนวทางและขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลแบบทางไกลให้ผู้ร่วมมือ ซึ่งเป็นคนที่อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ได้บันทึกและส่งข้อมูลให้ผู้วิจัย ข้อมูลความเข้าใจเชิงลึก (Insight) ที่ได้มาจากตัวแทนผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมวิจัยที่อยู่ในพื้นที่นี้ จะได้มาจากการนำเสนอรูปแบบมุมมองที่เป็นตัวตนของคนที่อยู่ในสังคมนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ร่วมวิจัยในพื้นที่สามารถวางโครงสร้างในการนำเสนอได้เองเทคโนโลยีในปัจจุบันมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งยังผลให้สามารถทำงานวิจัยในรูปแบบนี้ได้ทุกที่ทุกสถานการณ์ การที่ให้ผู้ร่วมวิจัยในพื้นที่มีอุปกรณ์ เช่นสมาร์ทโฟน จะเอื้อให้ผู้ร่วมวิจัยสามารถบันทึกเวลาและสถานที่ในเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงจุดปฏิสัมพันธ์ (Touchpoint) ที่พวกเขาได้รับรู้ในจุดบริการแต่ละจุด ในรูปแบบเสียง ข้อความ ภาพ และวิดีิโอ ได้อย่างสะดวก
การที่ให้ผู้ร่วมวิจัยได้กำหนดจุดที่คิดว่าเป็นจุดสำคัญในการปฏิสัมพันธ์เอง หรือแม้กระทั่งการให้คะแนนประเมินความมีประสิทธิภาพ จากรูปแบบโครงสร้างการทำงานของระบบบริการจากผู้ใช้ (User-structured Image) จะทำให้มุมมองที่ได้มามีความใกล้เคียงกับการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นเป้าหมายอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด
แนวทางการทำวิจัยรูปแบบนี้ควรให้เปิดกว้าง ไม่ควรกำหนดโครงสร้างในขั้นตอนหรือข้อคำถามมากเกินไป ซึ่งการจำกัดหรือวางโครงสร้างที่ตายตัวจนเกินไปอาจจะส่งผลให้สูญเสียประเด็นที่สำคัญหรือน่าสนใจไปได้