การทําวิจัยผ่านระบบทางไกล

Remote Research

การทําวิจัยผ่านระบบทางไกลเป็นการใช้การทำวิจัยออนไลน์ สำหรับการจดบันทึกประจำวันของผู้ใช้บริการ

BENEFIT

  • เข้าถึงผู้ใช้บริการที่ยากที่จะเข้าถึงได้
  • สร้างความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
  • เก็บข้อมูลและความคิดเห็นของผู้ใช้บริการผ่านช่วงเวลาที่หลากหลาย
  • จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายเพื่อการใช้งานและการอ้างอิงในอนาคต
  • INPUT

  • ระบบในการติดต่อทางไกลและส่งผ่านข้อมูลร่วมกัน
  • แผนกิจกรรมในการทำวิจัย (Protocol)
  • อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารออนไลน์
  • OUTPUT

    ฐานข้อมูลบันทึกกิจกรรมและการใช้ชีวิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    WHAT IT DOES

    การทําวิจัยผ่านระบบทางไกล คือวิธีการที่ผู้ใช้ทำบันทึกประจำวันผ่านระบบเว็บไซต์ วิธีการนี้ใช้การติดต่อเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ต เพื่อที่จะทำการศึกษาชีวิตประจำวันของผู้ใช้หลายคนพร้อมๆ กันได้ และในแต่ละคนก็จะได้เรื่องราวในหลากหลายสถานที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทีมวิจัยไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่เอง ตัวแทนผู้ใช้บริการที่ถูกเลือกสามารถรับคำเชิญเพื่อเข้าถึงเครื่องมือออนไลน์นี้ โดยการ Login เข้าระบบและรับมอบหมายกิจกรรม รวมถึงคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นต่างๆ ในกิจกรรมที่ต้องทำ หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงจะสามารถเริ่มต้นบันทึกกิจกรรมประจำวันของตนได้ โดยการอัพโหลดรูปและวิดีโอ และสื่อสารตอบโต้โดยตรงกับนักวิจัยผ่านระบบทางไกล ข้อมูลที่อัพโหลดโดยตัวแทนผู้ใช้บริการจะถูกบันทึกไว้ในเอกสารของการทำวิจัย โดยสามารถนำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ได้อย่างเป็นประจำ การควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ทำให้นักวิจัยสามารถติดตามผลที่ได้มาอย่างทันทีทันควัน และสื่อสารกับผู้ใช้บริการ ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมได้ทันที

    CONSIDERATIONS

    ตัวแทนผู้ใช้บริการอาจมีความไม่สม่ำเสมอในการบันทึกข้อมูล เนื่องจากเหตุฉุกเฉินบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม จึงมีความจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และมีความยืดหยุ่นในการเก็บข้อมูล หรือมีผู้ร่วมกิจกรรมเพิ่มเติมสำรองไว้

    HOW IT WORKS

    1. การระบุกิจกรรมที่ต้องการศึกษาควรระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำอย่างชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและขอบเขตของโครงการ ซึ่งจะเป็นไปได้ทั้งการมองหาภาพรวมของประสบการณ์ของผู้ใช้บริการหรือมุ่งเน้นในกิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงก็ได้เช่นกัน
    2. กำหนดกลุ่มประเภทของผู้ใช้บริการสำหรับการทำวิจัยผ่านระบบทางไกลในการเตรียมการเพื่อแต่ละกลุ่มผู้ใช้ พยายามบันทึกว่าทำไมผู้ใช้กลุ่มนี้จึงได้ถูกเลือกและมีความคาดหวังว่าจะได้อะไรจากการเรียนรู้และศึกษาผู้ใช้กลุ่มนี้ ตัดสินใจว่าวิธีการใดที่จะทำให้สามารถเข้าถึงและจะเชิญชวนผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ได้อย่างไร
    3. เขียนแผนการเก็บข้อมูลการวิจัย (Protocol) และอัพโหลดผ่านระบบออนไลน์ ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบถึงสิ่งที่ต้องการ ระยะเวลาในการทำกิจกรรม และวิธีในการจ่ายค่าตอบแทน เตรียมข้อมูลตารางเวลาที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อใดที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องส่งข้อมูลการสัมภาษณ์ผ่านระบบทางไกล หรือแม้แต่การเข้าร่วมประชุมออนไลน์
    4. เลือกเครื่องมือออนไลน์ที่เหมาะสม โดยศึกษาถึงเครื่องมือในการทำวิจัยออนไลน์ที่มีอยู่และเลือกใช้เฉพาะเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยผ่านระบบทางไกลสามารถกระทำได้โดยใช้วิธีการจัดตั้งเว็บไซต์ ในการรวบรวมรูปและวิดีโอ เมื่อมีการใช้เว็บไซต์ควรที่จะตั้งค่ารหัสผ่าน ที่ผู้อื่นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ยกเว้นเพียงแต่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและทีมเท่านั้น
    5. การเริ่มการศึกษาและการควบคุมดูแลระบบ สอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการอัพโหลดรูปและเพิ่มคำอธิบายของกิจกรรมต่างๆ และสอบถามถึงทัศนคติ แรงจูงใจ กระบวนการคิดและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกอัพโหลด โดยถ้าผู้ร่วมกิจกรรมส่งข้อมูลไม่สมบูรณ์ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้สื่อสารผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมแก้ไขตามที่เรียกร้องไป
    6. รวบรวมสิ่งที่พบและแบ่งปันกับสมาชิกในกลุ่มวิจัย ในการใช้เครื่องมือออนไลน์ ข้อมูลจะถูกรวบรวมในด้านการอธิบายทัศนคติ แรงจูงใจ กระบวนการคิด และเนื้อหาต่างๆ ของผู้ร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดทำรายงานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบต่อไป